ดาวอมตะที่ประดับฟากฟ้าวงการภาพยนตร์ ไทย เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นผู้ได้รับรางวัล Lifetime Achievement Award จากเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพในปี 2020

       ฉากแรกของเพชรา เริ่มต้นที่ตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2486 ในชื่อเกิดว่า “เอก เชาวราษฎร์” เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่กับพี่สาวที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2504 ญาติคนหนึ่งส่งเธอเข้าประกวดธิดา เมษาฮาวาย และเปลี่ยนชื่อเธอใหม่เป็น “ปัทมา เชาวราษฎร์” แม้จะขี้อายและไม่กล้าแสดงออกแต่ปัทมาก็สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาครอง การประกวดครั้งนี้มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ทำให้มีแมวมองทาบทามเธอมาแสดงหนังเรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี จากนั้นดอกดิน กัญญามาลย์ ได้เปลี่ยนชื่อให้เธอใหม่เป็น “เพชรา เชาวราษฎร์” และไม่ช้านักข่าวได้ตั้งฉายาให้สมกับดวงตาคู่งาม ของเธอว่า “ดาราสาวนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง”

        พระเอกคนแรกของเพชรา คือ มิตร ชัยบัญชา ดาราชายที่เข้าวงการก่อนเธอราว 5 ปี จาก บันทึก รักของพิมพ์ฉวี พวกเขาได้ประกบค่แู สดงรว่ มกันอีกหลายต่อหลายเรื่อง เช่น อ้อมอกสวรรค์ (พ.ศ. 2505) แพนน้อย (พ.ศ. 2506) อวสานอินทรีแดง (พ.ศ. 2506) นกน้อย (พ.ศ. 2507) ฯลฯ จนกลาย เป็นคู่ขวัญที่ส่งเสริมบารมีกันและกันให้ได้เป็น พระเอกนางเอกอันดับหนึ่งของวงการในเวลา ต่อมา

        เพชรา เชาวราษฎร์ ถือเป็น “ราชินีจอเงิน” อย่างแท้จริง ในแง่ที่เธอเป็นนักแสดงภาพยนตร์ เพียงอย่างเดียว ไม่เคยแสดงด้านอื่นเลย ผลงาน ภาพยนตร์ของเธอนั้นมีมากมายมหาศาลถึง 300 กว่าเรื่อง ตลอดระยะเวลาเพียง 16 ปีที่อยู่ ในวงการ ระหว่างปี พ.ศ. 2505-2521 ในช่วง รุ่งโรจน์ เพชราต้องเข้าคิวถ่ายหนังวันละหลาย เรื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเกรงใจบรรดา ผู้สร้างที่ต่างต้องการให้เธอร่วมแสดง แม้เพียง ไม่กี่ฉากก็ยอม เพียงเพื่อให้มีชื่อเพชราไปขาย สายหนัง จนเธอเองยอมรับว่าไม่มีเวลาอ่านบท เพราะต้องวิ่งรอกถ่ายหนังตั้งแต่เช้าจรดค่ำ

       ใช่ว่าเพียงรูปร่างหน้าตาอันงดงามที่ทำให้ เพชราสามารถกุมหัวใจมหาชนอย่างแนบแน่นได้ หากแต่เป็นเพราะเธอยังตั้งใจกับทุกบทบาทที่ได้รับอย่างนักแสดงมืออาชีพ โดยมีรางวัล ตุ๊กตาทอง สาขาผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง นกน้อย (พ.ศ. 2507) เป็นเครื่อง การันตี อย่างไรก็ตาม ความทุ่มเทของ เพชราในการถ่ายหนังหามรุ่งหามค่ำได้ส่ง ผลร้ายต่อดวงตาของเธอที่ถูกใช้งานอย่าง หนักหน่วง ทั้งฉากร้องไห้จำนวนมาก และ การต้องถูกแสงไฟรวมถึงรีเฟล็กซ์สาดเข้า มาอย่างไม่หยุดหย่อนมาตลอดหลายปี

        เพชราเริ่มมีปัญหาทางด้านสายตา ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 แต่เธอยังกัดฟันต่อความเจ็บปวดเพื่อแสดงภาพยนตร์ไปอีกเกือบสิบปี ก่อนจะตัดสินใจแสดงภาพยนตร์ เรื่องสุดท้ายคือ ไอ้ขุนทอง ที่เธอเป็นผู้อำนวยการสร้าง ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2521 หลังจากนั้น ราชินีแห่งจอเงินจำต้องก้าวลง จากบัลลังก์เข้าสู่โลกที่ค่อย ๆ มืดมนอย่าง เงียบ ๆ โดยมี ชรินทร์ นันทนาคร คู่ชีวิต เจ้าของเสียงร้องเพลง “หยาดเพชร” เพลง ที่กลายเป็นสัญลักษณ์แทนตัวเธอ คอยดูแล อยู่เคียงข้าง

        เพชรา เชาวราษฎร์ ชื่อนี้เคยเป็น ตัวแทนแห่งความชื่นใจและหลงใหลใฝ่ฝัน ของแฟนหนังไทยเมื่อราวครึ่งศตวรรษก่อน ก่อนจะกลายเป็นตำนานเล่าขานสู่คนรุ่นถัดมา แม้ปัจจุบันสายธารแห่งกาลเวลา จะพัดพาให้ชื่อเพชราไกลห่างออกไปจาก การรับรู้ของอนุชนที่เพิ่งเติบโตขึ้น แต่ ปรากฏการณ์และความยิ่งใหญ่ที่เธอฝากไว้ แก่วงการภาพยนตร์ไทยยังคงอยู่เป็นอมตะ เพชราได้รับการแต่งตั้งเป็นศิลปินแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2562 และสมควรอย่างยิ่งที่จะ ได้รับรางวัล Lifetime Achievement Award จากเทศกาลภาพยนตร์อาเซียน แห่งกรุงเทพในปีนี้
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้